Site icon ThaiHiv365

เอชไอวี(HIV) ป้องกันง่ายกว่ารักษา

เอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คหลายคนหวาดกลัวการติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ และถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่น่ากลัว และไม่มีทางรักษา แต่มีวิธีการที่สามารถช่วยป้องกัน และหลีกเลี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีนี้ได้

เอชไอวี คืออะไร?

เอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

อาการของเอชไอวี

เอชไอวี มีทั้งหมด 3 ระยะ

ระยะไม่ปรากฏอาการ

ในระยะนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใด ๆ ให้เห็น จึงดูเหมือนคนปกติที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่อาจจะมีอาการป่วยเล็กน้อย โดยเฉลี่ยนั้น จากระยะแรกเข้าสู่ระยะที่ 2 จะใช้เวลาประมาณ 7 – 8 ปี แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการอยู่ได้นานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นๆได้ เพราะว่าผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ส่วนใหญ่ในระยะแรก ยังไม่ทราบว่าตัวเองนั้นติดเชื้อแล้ว

ระยะปรากฏอาการ

ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติปรากฏให้เห็นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตติดต่อกันนานหลายเดือน มีเชื้อราบริเวณในปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุเกิน 1 เดือน เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด และอื่น ๆ ในระยะนี้อาจมีอาการอยู่เป็นปี ก่อนพัฒนาลุกลามกลายเป็นเอดส์เต็มขึ้นในระยะต่อไป

ระยะโรคเอดส์

ในระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปเยอะมาก ซึ่งทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และร่างกายก็ไม่สามารถขจัดเชื้อโรคเหล่านี้ออกไปจากร่างกายได้  ซึ่งมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อชนิดใด และเกิดขึ้นบริเวิณอวัยวะส่วนใดของร่างกาย เช่น หากติดเชื้อวัณโรคที่ปอด อาการที่พบจะมีไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด แต่ถ้าเป็นเยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรวดแรง อาเจียน คอแข็ง คลื่นไส้ และถ้าเป็นอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทก็จะมีอาการซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรง ความจำเสื่อม ซึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ในระยะสุดท้ายนี้ จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 – 2 ปีเท่านั้น

ใครบ้างที่ควรตรวจเอชไอวี

ารป้องกันเอชไอวี

การรักษาเอชไอวี

การรักษาเอชไอวีมีหลายประเภท รวมถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ARV) การป้องกันโรคหลังการสัมผัส (PEP) และการป้องกันโรคก่อนการสัมผัส (PrEP)

ยารักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ที่ได้รับการรับรองมากกกว่า 25 ชนิด เรียกว่า ยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral drugs หรือเรียกย่อว่า ARV) ทำหน้าที่ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคสู่คนอื่น

หากมีความกังวลว่าตัวเองอาจเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี สามารถใช้ ยาต้านไวรัสหลังสัมผัสโรค (post-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PEP) เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับยาให้เร็วที่สุด ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง

นอกจากนี้สามารถใช้ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัสโรค (Pre-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PrEP) ใช้ในผู้ไม่มีเชื้อเอชไอวีแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง และต้องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต้องรับประทานยาทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

Exit mobile version