Site icon ThaiHiv365

โรคหนองในแท้ และหนองในเทียม ต่างกันยังไง 

โรคหนองในแท้ และหนองในเทียม ต่างกันยังไง

หนองใน เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน จึงสามารถรับเชื้อได้โดยง่ายแบบไม่ทันตั้งตัว และบ่อยครั้งผู้ป่วยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหนองในทั้ง หนองในแท้ และเทียม ว่ามีความแตกต่างกันยังไง? เมื่อเป็นโรคหนองในแล้วกี่วันจะหาย?  อาการจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน? โรคหนองในเป็นแล้วรักษาหายหรือไม่? หรือเป็นแล้วไม่รักษาได้ไหมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหนองในมากขึ้น ป้องกันและดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง 

หนองในมีกี่ประเภท

โรคหนองในแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ โรคหนองในแท้ และโรคหนองในเทียม

โรคหนองในแท้ (Gonorrhoea)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื้อว่า Neisseria gonorrhea  สามารถติดต่อได้ทั้งชายและหญิงรวมทั้งทารกแรกเกิด โรคหนองในแท้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีระยะการฟักตัวสั้น ประมาณ 1 – 10 วัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการฟักตัวภายใน 5 วัน และเป็นโรคภายใน 7 วัน  โรคหนองในแท้สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นหมัน หรืออาการอักเสบในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis : NSU)

มีเชื้อก่อโรคหนองในเทียมที่พบบ่อยที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรียชื่อว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) สามารถติดต่อได้ทั้งชายและหญิง  โรคหนองในเทียมมีระยะการฟักตัวของโรคนานกว่าโรคหนองในแท้ นั่นคือ มากกว่า 10 วันขึ้นไป แต่ปัจจุบันในบางกรณีอาจพบว่าไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป อาการอาจลุกลามจนถึงขั้นอัณฑะอักเสบในผู้ชายและร้ายแรงที่สุดคือ เป็นหมัน   ส่วนฝ่ายหญิง อาการอาจลุกลามจนเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจนถึงขั้นเป็นหมัน หรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

เชื้อแบคทีเรีย

โรคหนองในแท้ และหนองในเทียม ต่างกันยังไง 

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกัน โดยโรคหนองในแท้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื้อว่า Neisseria gonorrhea ส่วนหนองในเทียมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis)   แต่มีอาการของโรคหนองในจะคล้ายคลึงกัน หรืออาจจะเกิดร่วมกันได้

การแยกโรคหนองในแท้ และหนองในเทียม อาจพิจารณาจากอาการแสดง เช่น ลักษณะของหนองโรคหนองในแท้จะมีลักษณะขุ่น ส่วนหนองในเทียมส่วนมากจะมีลักษณะใส  แต่พบว่าในโรคหนองในเทียมสามารถพบได้ทั้งหนองลักษณะใสหรือขุ่นได้เช่นกัน และโรคทั้งสองพบอุบัติการณ์การเกิดร่วมกันได้มาก

จึงยากในการใช้อาการแสดงทางคลินิกในการแยก จึงอาจใช้การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย 

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหนองในเทียม

  1. ผู้ที่มีอายุยังน้อย หรือกลุ่มวัยรุ่น
  2. ผู้ที่ติดยาเสพติด
  3. ผู้ที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน หรือมีการเปลี่ยนคู่นอนใหม่
  4. ผู้ที่ใช้คู่นอนร่วมกับผู้อื่น
  5. ผู้ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์

อาการหนองในแท้-หนองในเทียม

การวินิจฉัยหนองในแท้ และหนองในเทียม

การวินิจฉัยหนองในแท้

การวินิจฉัยหนองในเทียม

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อหนองใน

นอกจากนี้โรคหนองในอาจส่งผลต่ออวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายทั้งผู้ชายและผู้หญิงได้ ไม่ว่าจะเป็นหลอดลม ดวงตา หัวใจ สมอง ผิวหนัง และข้อต่อต่างๆ แต่จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

การรักษาโรคหนองในแท้-หนองในเทียม

การรักษาแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Ceftriaxone  และ Azithromycin เมื่อได้รับยาอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงใน 24 ชั่วโมง แพทย์จะให้ยารักษาประมาณ 1 สัปดาห์แล้วกลับมาตรวจซ้ำ ในช่วงที่กำลังรักษาให้งดการมีเพศสัมพันธ์เด็ดขาด เพราะสามารถแพร่เชื้อได้ และเสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อ แม้แต่การใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่ควร

หากมีสามีหรือภรรยา รวมถึงคู่นอน ควรจะแจ้งอีกฝ่ายว่าเป็นโรคแล้วรีบพามาตรวจรักษาพร้อมกัน และการรักษาต้องผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์มาตรวจซ้ำว่าไม่พบเชื้อจึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ มิเช่นนั้น ท่านก็จะติดเชื้อซ้ำๆ ต้องรักษาไม่จบสิ้นจนกว่าจะหายขาดและไม่ได้รับเชื้ออีก

การป้องกันโรคหนองในแท้-หนองในเทียม

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหนองในแท้-หนองในเทียม

ความคุ้มค่าในการรักษาทั้ง 2 โรคพร้อมกัน

เนื่องจากโรคหนองในแท้ และหนองในเทียม มีโอกาสการเกิดโรคร่วมกันสูง จึงมักให้รักษาโรคหนองในแท้และหนองในเทียมร่วมกัน แต่ยังไม่พบการศึกษาที่เปรียบเทียบการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลระหว่างการรักษาแบบแยกโรค และการรักษาแบบร่วมกัน

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

หนองใน

อาการแบบนี้ ใช่โรคหนองในเทียมหรือเปล่า?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

Exit mobile version