Site icon ThaiHiv365

STI และ STD อะไรคือความแตกต่าง

STI_STDความแตกต่าง

STD และ STI มักใช้แทนกันได้ เพราะหมายถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ระหว่าง “D” และ “I” คือ ความแตกต่างระหว่างโรคและการติดเชื้อ การติดเชื้อมักเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียไวรัส หรือจุลินทรีย์อื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคเข้าสู่ร่างกายและเริ่มทวีคูณ และโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในร่างกายของคุณได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อ และเริ่มมีสัญญาณและอาการของการเจ็บป่วยเกิดขึ้น

STI  คืออะไร

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections; STI)  คือ การติดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยผ่านการจูบ, การสัมผัสหรือถูอวัยวะเพศ, การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (การใช้ปากกับอวัยวะเพศ), การร่วมเพศ (องคชาตในช่องคลอด องคชาตในทวารหนัก), การใช้เซ็กซ์ทอย รวมถึง การติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด

STD คืออะไร

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases: STD) คือกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน

STI และ STD อะไรคือความแตกต่าง

STI (Sexually transmitted infection) คือ การติดเชื้อที่ป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD (Sexually transmitted disease) ซึ่งสองอย่างนี้ มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

โดยอาจเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกันก็ได้ แต่ STI อาจจะไม่มีอาการแสดง ถึงแม้คุณจะมีการติดเชื้ออยู่ก็ตาม ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจพัฒนาเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคุณควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีมากมาย บางชนิดพบได้บ่อย แต่จะแบ่งได้คร่าวๆ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ ติดเชื้อไวรัส และติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนี้

ใครเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ?

เมื่อไหร่ที่ควรมาตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?

จะปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อสงสัยว่าอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ?

เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเพิ่งมีความเสี่ยงในการติดโรค ควรรีบปรึกษาแพทย์ และงดการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นจนกว่าจะทราบผลการตรวจ ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย และแนะนำให้คู่นอนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจรักษาด้วย 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย และไม่หาย

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินหรือฉีดยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง และให้ความสำคัญกับการพาคู่นอนมารับการตรวจรักษา ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต เช่น เริม การรักษาจะช่วยควบคุมอาการโรคได้ แต่การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอชพีวี ร่างกายอาจกำจัดเชื้อได้เอง หากกำจัดไม่ได้เชื้ออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาไม่หายขาด

วิธีการป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำอย่างไรได้บ้าง ?

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ไวรัสตับอักเสบบี..ภัยเงียบที่ควรระวัง

อาการแบบนี้ ใช่โรคหนองในเทียมหรือเปล่า?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

Exit mobile version